นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย คว้ารางวัล UNESCO/IOC-WESTPAC Outstanding Scientist Award 2024

นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย คว้ารางวัล UNESCO/IOC-WESTPAC Outstanding Scientist Award 2024

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ม.รามคำแหง คว้ารางวัล UNESCO/IOC-WESTPAC Outstanding Scientist Award 2024
     รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และนายกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น (WESTPAC Outstanding Scientist Award 2024) จากคณะอนุกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก (IOC Sub Commission for the Western Pacific: IOC-WESTPAC) ภายใต้องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เพื่อเชิดชูนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ทางทะเล มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก ปัจจุบัน IOC-WESTPAC ประกอบด้วย 22 ประเทศสมาชิก เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม ไทย ฯลฯ
     พิธีมอบรางวัล UNESCO/IOC-WESTPAC Outstanding Scientist Award 2024 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ภายในงานประชุมวิชาการนานาชาติ 2nd UN Ocean Decade Regional Conference & 11th WESTPAC International Marine Science Conference ภายใต้หัวข้อ “Accelerating Ocean Science Solutions For Sustainable Development” ระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2567 ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร โดยมี พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติฯ
     นาย Wenxi Zhu หัวหน้าสำนักงาน IOC-WESTPAC ซึ่งเป็นองค์กรประสานงานของ UNESCO ในภูมิภาค กล่าวถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลและชายฝั่ง สุขภาพของระบบนิเวศในมหาสมุทร การพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงิน และการดำเนินงานของประเทศไทยภายใต้ทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ทางมหาสมุทรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นับเป็นก้าวสำคัญทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก IOC-WESTPAC มอบรางวัล Outstanding Scientist Award ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2014 ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานยอดเยี่ยม 5 ท่าน และในปี ค.ศ. 2017 จำนวน 3 ท่าน สำหรับในปี ค.ศ. 2024 IOC-WESTPAC พิจารณาคัดเลือกนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานวิจัยดีเด่น และเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการพัฒนาวิทยาศาสตร์มหาสมุทรในภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง จำนวน 5 ท่าน ดังนี้
     1) Dr. Zainal Arifin, National Research and Innovation Agency, Indonesia
     2) Dr. Thamasak Yeemin, Ramkhamhaeng University/Marine Science Association of Thailand
     3) Dr. Daoji Li, East China Normal University, China
     4) Dr. Vo Si Tuan, GEF/UNEP South China Sea SAP Project/ Institute of Oceanography, Vietnam
     5) Dr. Gil Jacinto, University of the Philippines, the Philippines
 
     รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน นักวิทยาศาสตร์ไทยที่ได้รับรางวัลนี้ เป็นผู้ที่ได้ใช้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาเกือบสี่ทศวรรษในการทำงานด้านชีววิทยา นิเวศวิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงพื้นที่คุ้มครองทางทะเล มีประสบการณ์ที่ครอบคลุมทั้งด้านการจัดการ การอนุรักษ์ และการวิจัย เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Asia Pacific Coral Reef Society และเป็นประธานการจัดประชุมวิชาการ Second Asia Pacific Coral Reef Symposium เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร International Society for Reef Studies (ISRS) นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย และทำงานให้กับองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง ตลอดจนหน่วยงานระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หน่วยงานระดับท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อวางแผนและดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เช่น ASEAN-Australia Economic Cooperation Program on Marine Science Project, UNEP/GEF Project on Reversing Environmental Degradation Trends in the South China Sea and Gulf of Thailand, Global Coral Reef Monitoring Network, International Coral Reef Initiative, International Maritime Organization, United Nations Development Programme, German Corporation for International Cooperation GmbH, ASEAN Center for Biodiversity, Too Big To Ignore Project: Global Partnership for Sustainable Fisheries Research, COBSEA Working Group on Marine and Coastal Ecosystems ฯลฯ
     รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ได้รับเชิญให้เป็น Keynote Speaker, Invited Speaker และ convenor ของการประชุมนานาชาติจำนวนมาก เช่น International Coral Reef Symposium, International Marine Conservation Congress, Asian Marine Biology Symposium, Pacific Science Congress, IMBeR West Pacific Symposium ฯลฯ เป็น project leader ของ IOC-WESTPAC Program on the Coral Reef Resilience to Climate Change and Human Impacts เป็นประธาน และผู้ร่วมจัด First, Second and Third Summer Schools for IOC/WESTPAC-CorReCAP Project และสนับสนุนการดำเนินงานของ IOC-WESTAPAC มาอย่างต่อเนื่อง เป็นบรรณาธิการรับเชิญของวารสาร Deep-Sea Research Part II (ELSEVIER), Coral Reefs under the Climate and Anthropogenic Perturbations (CorReCAP): An IOC/WESTPAC Approach เป็นบรรณาธิการ และผู้เขียนในหนังสือ: Coral Reefs of the World Vol. 14 (Springer) - Coral Reefs of the Western Pacific Ocean in a Changing Anthropocene และมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ทั้งในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติจำนวนมาก
ด้วยการอุทิศตนอย่างแน่วแน่ในสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาเกือบสี่ทศวรรษ และเป็นแบบอย่างของนักวิจัยที่ทำงานอย่างเข้มแข็ง มีผลงานที่โดดเด่น ทำให้ได้รับการยอมรับและความเคารพอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ในวงการวิทยาศาสตร์ทางทะเลของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในระดับนานาชาติด้วย รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน จึงสมควรได้รับรางวัล UNESCO/IOC-WESTPAC Outstanding Scientist Award 2024
Read More
ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เมดโทรนิค เปิดศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดโรคทางด้านกระดูกสันหลัง

ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เมดโทรนิค เปิดศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดโรคทางด้านกระดูกสันหลัง

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับเมดโทรนิค เปิดศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดโรคทางด้านกระดูกสันหลัง

วันนี้ (1 เมษายน 2567) ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เปิดตัว “ศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดโรคทางด้านกระดูกสันหลัง” บ่มเพาะเป็นสถานที่ฝึกอบรมและให้ความรู้เฉพาะทางแก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรการแพทย์จากประเทศไทยและภาคพื้นอาเซียน โดยพิธีลงนามจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 1201 โซน A ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แบบ ซึ่งสอดคล้องกับในหลายประเทศทั่วโลกที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น สวนทางกับอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่นเดียวกันกับประเทศไทยที่มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ค่อนข้างต่ำ เพียง 600,000 กว่าคนต่อปีเท่านั้น ทำให้ 3 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งโรคที่พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือ ภาวะโรคกระดูกและข้อ ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยสูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี นอกจากนี้สถานการณ์โรคที่เกี่ยวข้องกับ “กระดูกสันหลัง” และ “ระบบประสาท” ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในกลุ่ม “มนุษย์ออฟฟิศ” ที่ต้องเร่งรีบในการทำงาน หรือนั่งทำงานเป็นเวลานาน โดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถ พบสูงสุดในกลุ่มอาชีพรับจ้างทั่วไป, พนักงานเอกชน รองลงมาคือ กลุ่มทำงานภาคเกษตรกรรม โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุที่พบมากคือ 45-54 ปี รองลงมาช่วงอายุ 55-64 ปี ดังนั้นการรักษาโรคทางด้านกระดูกสันหลัง จึงเป็นสาขาทางการแพทย์ที่มีความต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น เพื่อให้บริการที่มีคุณภาพแก่ผู้ป่วยในประเทศไทยและภาคพื้นอาเซียน จึงนำมาซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมที่มุ่งเน้นการรักษาโรคทางด้านกระดูกสันหลังและเสริมสร้างสุขภาพของประชาชน

รศ.นพ.ฉันชาย กล่าวว่า โรคทางด้านกระดูกสันหลัง ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขและมีผลต่อภาระทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ ตามมา ดังนั้นในฐานะที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีองค์ความรู้และความสามารถในการเรียนการสอน ผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีนโยบายสนับสนุนการเปิดศูนย์การอบรมทางวิชาการต่างๆ เพื่อให้แพทย์ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วได้กลับเข้ามารับความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องผ่านหลากหลายช่องทางการเรียนรู้ที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้นับว่าเป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่งที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และบริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมมือในการพัฒนา “ศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดโรคทางด้านกระดูกสันหลัง” เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในการรักษาโรคทางด้านกระดูกสันหลังเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีเป้าหมายร่วมกันที่จะเป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งในและต่างประเทศที่ได้มาตรฐานในระดับสากล 

ด้าน รศ.นพ.วิชาญ ยิ่งศักดิ์มงคล หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ในยุคที่สังคมกำลังเผชิญกับผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น เราทุ่มเทในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านออร์โธปิดิกส์ที่เน้นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและยกระดับการให้บริการที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับกับการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในอนาคต ทางภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาโรคทางด้านกระดูกสันหลัง เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนานิสิตแพทย์ให้มีความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติที่ตรงกับมาตรฐานทางวิชาชีพ โดยให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ความรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง รวมถึงการให้บริการที่มีคุณภาพและเน้นความมีส่วนร่วมของผู้ป่วย เราพยายามอย่างไม่หยุดยั้งในการพัฒนาและเป็นผู้นำทางด้านการรักษาโรคด้านกระดูกสันหลังเพื่อการรักษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล ด้วยความพร้อมของภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทั้งในด้านความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการรักษาที่ทันสมัย การเปิดตัว “ศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดโรคทางด้านกระดูกสันหลัง” นั้น จึงเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าสำคัญของภาควิชาในการนำองค์ความรู้ที่มีมาพัฒนาแพทย์ในประเทศไทยและภาคพื้นอาเซียน ตามวิสัยทัศน์ “เพื่อการเป็นผู้นำด้านออร์โธปิดิกส์ชั้นนำของประเทศที่ให้ความรู้ด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติแก่นิสิตแพทย์ บัณฑิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านอย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งให้บริการ ด้วยคุณธรรมและจริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพและสร้างงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของสังคม”

ในขณะที่
รศ.นพ.วรวรรธน์ ลิ้มทองกุล หัวหน้าหน่วยศัลยกรรมกระดูกสันหลัง และผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านชีวกลศาสตร์และนวัตกรรมการผ่าตัดกระดูกสันหลัง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากความร่วมมือในการจัดตั้ง ศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดโรคทางด้านกระดูกสันหลัง” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และบริษัทเมดโทรนิค มุ่งเน้นพัฒนาหลักสูตรองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและการรักษาที่ทันสมัยเพื่อให้บริการรักษาโรคทางด้านกระดูกสันหลังที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยในประเทศไทยและภาคพื้นอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ช่วยให้แพทย์ที่มารับการฝึกอบรม ได้พัฒนาองค์ความรู้ความสามารถในการรักษาและให้บริการที่ทันสมัย สามารถกลับไปทำหัตถการ ได้ตามแนวทางมาตรฐานสากล

ปัจจุบัน ทางภาควิชาออโธปิดิกส์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กำลังค้นคว้าวิจัย การนำเทคโนโลยีระบบหุ่นยนต์ช่วยนำทาง มาช่วยในการรักษาโรคทางกระดูกสันหลังด้วยการผ่าตัดแผลเล็ก เพื่อศึกษาถึงประโยชน์และความปลอดภัยในการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการรักษาผู้ป่วย และหากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะช่วยยกระดับการรักษาโรคทางกระดูกสันหลังของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น

 การร่วมมือครั้งนี้เป็นความภูมิใจที่จะนำเสนอการเรียนรู้ ที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ สามารถได้รับองค์ความรู้ พัฒนาทักษะการทำหัตถการและการใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงและทันสมัย ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด มอบประสบการณ์ในการเรียนรู้ และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการอบรมที่มีคุณภาพของคณาจารย์จากภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับบริษัทเมดโทรนิค ที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ ในการเพิ่มจำนวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้มากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่อยอดไปยังการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงให้กับผู้ป่วยให้มากยิ่งขึ้นด้วย

ทางด้าน Mr. Paul Verhulst Vice President, Mainland Southeast Asia, Medtronic PLC. กล่าวว่า ในฐานะที่เมดโทรนิคเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพและมีศักยภาพในการสนับสนุนอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน เรามีความมุ่งมั่นในการแก้ไขความท้าทายทางด้านสุขภาพ ในการบรรเทาความเจ็บปวดจากโรคภัยต่างๆ ส่งเสริมให้ประชากรทุกคนมีสุขภาพที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544

“กว่า 23 ปีที่เมดโทรนิคได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐและผู้ให้บริการด้านสุขภาพในทุกภาคส่วน ผ่านหลากหลายโครงการความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทางการแพทย์และสาธารณสุข ในด้านการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี การอบรมบุคลากรที่มีคุณภาพในการทำหัตถการที่มีความซับซ้อน เพิ่มบุคลากรที่มีความรู้และทักษะไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพิ่มการเข้าถึงการรักษาที่ทันสมัยให้กับประชาชน ขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านงานวิจัย ยกระดับศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งล้วนถือเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาของระบบสาธารณสุขของประเทศไทยให้อยู่ในระดับสากล และในปี พ.ศ. 2567 นี้ เมดโทรนิค ประเทศไทย จึงมีเป้าหมายที่จะร่วมมือกับภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในการร่วมกันจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดโรคทางด้านกระดูกสันหลัง”ขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการเข้าถึงการเรียนรู้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ” Mr. Paul Verhulst กล่าว

“ทั้งนี้ทางบริษัทฯ มีความยินดี และพร้อมจะสนับสนุนโครงการความร่วมมือ ในการพัฒนาองค์ความรู้ลักษณะนี้กับทุกสถาบัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย ทั้งทางด้านการศึกษา การแพทย์ และสังคมไทย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยอย่างยั่งยืน และเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีสุขภาพของประชาชนไทยได้มากขึ้นในอนาคต” Mr. Paul Verhulst กล่าวทิ้งท้าย

นอกจากนี้ คุณสุชาดา ธนาวิบูลเศรฐ, Senior Country Director บริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเมดโทรนิค ให้ความสำคัญกับคนไข้เป็นอันดับแรก โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย ยกระดับศักยภาพในการผ่าตัดของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูงสุด

นอกจากการพัฒนาทักษะของบุคลากรทางการแพทย์ที่เราให้ความสำคัญแล้ว เมดโทรนิคยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำมากขึ้นและเพิ่มความปลอดภัยในการผ่าตัดให้ดียิ่งขึ้น เรามีการนำระบบหุ่นยนต์ช่วยนำทาง(Robotic Guidance System) และเครื่องช่วยผ่าตัดนำวิถี (O-arm Navigation) ซึ่งเป็นเครื่องสแกนกระดูกสันหลังในขณะผ่าตัด และสร้างภาพกระดูกสันหลังเป็นภาพทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ ที่จะช่วยระบุบพิกัดบนภาพสแกนอวัยวะของผู้ป่วยเพื่อประกอบการตัดสินใจของแพทย์ที่จะนำไปสู่การรักษาที่ปลอดภัยมากขึ้น การแสดงผลภาพที่ชัดเจน จะทำให้แพทย์สามารถระบุตำแหน่งของเครื่องมือที่ใส่ ระยะใกล้ไกลเส้นประสาทหรือไขกระดูกสันหลังได้อย่างแม่นยำ สามารถเอ็กซ์เรย์ในห้องผ่าตัดได้โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายคนไข้ ช่วยยกระดับการรักษาโรคทางกระดูกสันหลังด้วยการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery) ทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

ความร่วมมือจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดกระดูกสันหลังในครั้งนี้ได้ช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางด้านผ่าตัดกระดูกสันหลังที่มีความซับซ้อน ให้มีผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดีแก่ผู้ป่วย ผ่านการถ่ายทอดความรู้ให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน ให้มีทักษะการผ่าตัดที่ก้าวหน้าเพิ่มขีดความสามารถของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้พร้อมรับมือกับโรคกระดูกสันหลังที่มีความท้าทายยิ่งขึ้น เพิ่มจำนวนบุคลากรมีความเชี่ยวชาญในภูมิภาค ลดการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพในประเทศ เพิ่มการเข้าถึงการรักษาได้ทันท่วงที การทำงานร่วมกันเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่อการรักษาโรคกระดูกสันหลังทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Read More
คณะวิทย์ ม.รามคำแหง จัดอบรม “การผลิตผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติขั้นสูง (Advanced Eco Printing)” สนับสนุนแผนงานการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ บพข

คณะวิทย์ ม.รามคำแหง จัดอบรม “การผลิตผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติขั้นสูง (Advanced Eco Printing)” สนับสนุนแผนงานการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ บพข

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดอบรม “การผลิตผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติขั้นสูง (Advanced Eco Printing)” สนับสนุนแผนงานการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ บพข.
     สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดอบรมการผลิตผ้าพิมพ์ลายจากพืชขั้นสูง "งานห่ม" รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 30 – 31 มีนาคม 2567 ณ อาคารคีรีมาศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก โดยมีวิทยากรประกอบด้วย ผศ.ดร.หฤษฎ์ นิ่มรักษา อาจารย์ ดร.ชมพูนุท พรเจริญนพ คุณจีรภา อริยเดช ว่าที่ร้อยตรีเทพไชย ปลั่งกลาง และคุณอารัตน์ ช่วยชาติ และมี ผศ.ดร.สัญญา กุดั่น รองคณบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมและมอบประกาศนียบัตร โครงการอบรมฯ ครั้งนี้สนับสนุนการยกระดับผู้ประกอบการท่องเที่ยวในชุมชนชายฝั่งทะเล จังหวัดตราด ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เพื่อการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายใต้แผนงานการท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ บพข. 
     ผศ.ดร.หฤษฎ์ นิ่มรักษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหน้าโครงการฝึกอบรมฯ กล่าวว่า การผลิตผ้าพิมพ์ลายจากพืชขั้นสูง (Advanced Eco Printing) จะได้ผลิตภัณฑ์จากผ้ารูปแบบที่เรียกว่า “งานห่ม” ซึ่งเป็นเทคนิคการผลิตผ้าพิมพ์ลายที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยมีกระบวนการโอนถ่ายสีและลวดลายจากส่วนของใบ ดอก และผลของพืช ลงบนผืนผ้าด้วยวิธีการทางธรรมชาติ และใช้ผ้าหลักอีกผืนเพื่อชุบสีที่ต้องการ บิดหมาดแล้วนำมาห่ม หรือคลุมทับบริเวณผ้าและใบไม้ที่ได้วางไว้ก่อนแล้ว เพื่อให้ได้ลวดลายของใบไม้บนผืนผ้า และสีพื้นที่ได้จากการห่ม โดยผ้าที่ได้จากการพิมพ์ลายรูปแบบใหม่นี้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าได้อย่างหลากหลาย อาทิ เสื้อ ผ้าซิ่น ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ หมวก กระเป๋า และรองเท้า เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ เป็นการรณรงค์การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ปลอดภัยจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อม รวมทั้งเป็นการใช้พืชที่มีในท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผู้เข้าอบรมสามารถผลิตผ้าพิมพ์ลายจากพืชสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน และจำหน่ายเป็นการค้าหรือส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน
     รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน ผู้อำนวยการแผนงานการท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ บพข. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การอบรมครั้งนี้มีผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชนชายฝั่งทะเล จังหวัดตราด ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมการฝึกอบรมด้วย แผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. ที่ดำเนินงานโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และประธานคณะอนุกรรมการฯ นั้น ได้ดำเนินการร่วมกับหลายองค์กรจนทำให้เกิดการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ที่ขายได้จริงในตลาดต่างประเทศแล้ว 125 เส้นทาง องค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรม จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ขณะนี้มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ดำเนินโครงการการยกระดับบริหารจัดการการท่องเที่ยวดำน้ำคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และตราด โดยมี รศ.ดร.มาฆมาส สุทธาชีพ และอาจารย์ ดร.วิชิน สืบปาละ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการวิจัย ซึ่งจะสามารถนำเรื่องการผลิตผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติขั้นสูง มาบูรณาการร่วมกันในการผลิตสินค้าของที่ระลึกจากท้องถิ่นสำหรับนักท่องเที่ยวดำน้ำ
     ว่าที่ พ.ต. วัชรินทร์  แสวงการ ประธานกลุ่มโฮมสเตย์และการท่องเที่ยวโดยชุมชนท้องตมใหญ่ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร กล่าวว่า การเข้ารับการฝึกอบรมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้ เปิดมุมมองใหม่ และสามารถนำไปถ่ายทอดกับผู้ประกอบการในเครือข่ายท้องตมใหญ่ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน วันนี้การท่องเที่ยวท้องตมใหญ่เข้าใจถึงปัญหาโลกร้อน ความจำเป็นที่ต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อให้การท่องเที่ยวมีความยั่งยืน เศรษฐกิจชุมชนเติบโต และความร่วมมือกันในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง
     คุณโสภี  พูนสดี ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจากเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ความเห็นความเห็นว่ามีโอกาสเข้ารับการอบรมโดยการสนับสนุนจากแผนงานการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงอย่างต่อเนื่อง เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และได้ข้อมูลใหม่ๆ ของสีที่ได้จากพืชชนิดต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ โดยตนเองได้นำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่เกาะเต่า และได้นำเอาเปลือกหอยฝาเดียวที่เป็นศัตรูของปะการังจากแหล่งดำน้ำเกาะเต่ามาบดเพื่อสกัดสีสำหรับการพิมพ์ผ้าลายจากสีธรรมชาติร่วมกับพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นด้วย สินค้าผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติ สามารถขายได้ในราคาสูงกับลูกค้ากลุ่มที่เน้นงานศิลปะ และเห็นคุณค่าของการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 
     คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ดำเนินการพัฒนาการผลิตผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติ และจัดโครงการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีเครือข่ายของผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากทั่วประเทศ จึงมีข้อมูลการผลิตผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ นอกจากนี้โครงการฝึกอบรมฯ ยังได้บูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งดำเนินงานร่วมกับโครงการเกษตรอินทรีย์ และการส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)) เพื่อพัฒนาประเทศทั้งในด้านด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
Read More
บพข. และ ม.รามคำแหง ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย, UNDP, MICE, สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า และเครือข่ายประชาคม 21 เกาะ สานเสวนาผู้นำเกาะยั่งยืน (Sustainable Islands’ Leadership Forum) ดันสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

บพข. และ ม.รามคำแหง ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย, UNDP, MICE, สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า และเครือข่ายประชาคม 21 เกาะ สานเสวนาผู้นำเกาะยั่งยืน (Sustainable Islands’ Leadership Forum) ดันสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

บพข. และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย, UNDP, MICE, สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า และเครือข่ายประชาคม 21 เกาะ จัดประชุมสานเสวนาผู้นำเกาะยั่งยืน (Sustainable Islands’ Leadership Forum) เพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

     เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 แผนงานการท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายใต้แผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. ที่ดำเนินงานโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และประธานคณะอนุกรรมการฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) ภาคใต้ และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า จัดประชุมสานเสวนาผู้นำเกาะยั่งยืน (Sustainable Islands’ Leadership Forum) เพื่อระดมความคิดเห็น และกำหนดกรอบทิศทางการขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเกาะอย่างยั่งยืน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาคมชาวเกาะ และแลกเปลี่ยนสถานการณ์ทิศทางความต้องการของการพัฒนาเกาะในประเทศไทยที่เหมาะสมตามอัตลักษณ์เฉพาะของวิถีชาวเกาะแต่ละภูมิภาค ณ โรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี การเสวนาครั้งนี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่องตามข้อตกลงในปฏิญญาเกาะเต่าในประเด็นการจัดทำแผนและดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเกาะอย่างยั่งยืน และมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

     รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการแผนงานท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ บพข. บรรยายพิเศษ เรื่อง การบริหารจัดการการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยมี คุณเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย กล่าวต้อนรับและให้มุมมองแก่ผู้ร่วมงานเสวนา คุณณรงค์ พรหมจิตต ผู้แทนการตลาด สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) ภาคใต้ นำเสนอข้อมูลอุตสาหกรรมไมซ์กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ และได้รับการสนับสนุนจากคุณรำลึก อัศวชิน นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า คุณรัฎดา ลาภหนุน และคุณศิราณี อนันตเมฆ ที่ปรึกษาด้านการท่องเที่ยวสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

     ผู้นำประชาคมชาวเกาะ 21 เกาะ ประกอบด้วย เกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก เกาะทะลุ เกาะพิทักษ์ เกาะพะลวย เกาะพยาม เกาะภูเก็ต เกาะราชา เกาะลันตา เกาะคอเขา เกาะยาวใหญ่ เกาะยาวน้อย เกาะหลีเป๊ะ เกาะพีพี เกาะปู เกาะจัม เกาะลิบง เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ได้ร่วมกันทบทวน วิเคราะห์ปฏิญญาเกาะเต่าที่มีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเกาะอย่างยั่งยืน และมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ รวมทั้งเสวนาแลกเปลี่ยน โอกาส ข้อจำกัด ทิศทางการพัฒนาเกาะอย่างยั่งยืน และกำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเกาะอย่างยั่งยืนในภาพรวมของประเทศไทย

     ข้อเสนอแนะที่ได้จากการเสวนาครั้งนี้จะเสนอต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการตามประกาศปฏิญญาเกาะเต่า เพื่อการท่องเที่ยวเกาะอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “ภายใต้กิจกรรมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจคาร์บอนในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน” ระหว่างวันที่ 26 - 27 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งดำเนินการโดยกรมการท่องเที่ยว

Read More
พัฒนา สปอร์ต รีสอร์ท ลั่น! มุ่งสู่ความเป็นเลิศศูนย์การกีฬาแบบครบวงจร แถลงเปิดปฏิทินการแข่งขันกอล์ฟ 3 รายการ สุดยิ่งใหญ่ประจำปี 67

พัฒนา สปอร์ต รีสอร์ท ลั่น! มุ่งสู่ความเป็นเลิศศูนย์การกีฬาแบบครบวงจร แถลงเปิดปฏิทินการแข่งขันกอล์ฟ 3 รายการ สุดยิ่งใหญ่ประจำปี 67

พัฒนา สปอร์ต รีสอร์ท ประกาศความพร้อมมุ่งสู่ความเป็นเลิศศูนย์การกีฬาแบบครบวงจร พร้อมเปิดปฏิทินการแข่งขันกอล์ฟ 3 รายการ สุดยิ่งใหญ่ประจำปี 2567
     พัฒนา สปอร์ต รีสอร์ท จัดงานแถลงข่าวประกาศความพร้อมมุ่งสู่ความเป็นเลิศศูนย์การกีฬาแบบครบวงจร พร้อมเปิดปฏิทินการแข่งขันกอล์ฟ 3 รายการ สุดยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 ต่อยอดความสำเร็จของเกมส์กีฬากอล์ฟที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 โดยการแถลงข่าวในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณบดินทร์ธร  จึงรุ่งเรืองกิจ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พัฒนา สปอร์ต รีสอร์ท ประธานแถลงข่าว พร้อมด้วย คุณโรจนสิทธิ์ มีนิจสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายกีฬา บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยเครื่องดื่มตราช้าง และคุณชาติชาย วีรสินธพ ผู้จัดการทั่วไป แผนกกอล์ฟ พัฒนา สปอร์ต  รีสอร์ท ร่วมแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ
     เมื่อวันพุธที่ 27 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา คุณบดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พัฒนา สปอร์ต รีสอร์ท กล่าวถึง การเติบโตของสนามในปีที่ผ่านมามีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นหลังจากผ่านพ้นช่วงสถานการณ์โควิดมาได้ และคาดว่าในปี 2567 จะมีการเติบโตของรายได้รวมเพิ่มขึ้นประมาณ 15% ซึ่งลูกค้าหลักยังคงเป็นกลุ่มนักกอล์ฟคนไทยและนักกอล์ฟเกาหลี ในส่วนของการปรับปรุงและพัฒนาสนามพัฒนา สปอร์ต  รีสอร์ท ทางสนามได้มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมกีฬาด้านต่างๆอย่างต่อเนื่องพร้อมรองรับนักกอล์ฟจากทั่วทุกมุมโลกให้มาสัมผัสประสบการณ์การออกรอบในสนามที่มีมาตรฐาน 27 หลุม ระดับแชมเปี้ยนชิพคอร์ส
     และในปีนี้สนามได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันกอล์ฟทั้ง 3 รายการอย่างเต็มที่ และได้นำเทคโนโลยี Smart Score จากประเทศเกาหลี มาเปิดประสบการณ์การออกรอบที่สนุกมากยิ่งขึ้น โดยจะเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักกอล์ฟ ด้วยการบอกระยะในการตีของแต่ละช็อตให้แม่นยำด้วยระบบ GPS หรือ ระบบ Digital Score Card การบันทึกสกอร์ที่ได้ผ่านทางแท็บเล็ต ให้นักกอล์ฟสามารถเล่นกอล์ฟได้สนุกมากยิ่งขึ้น
  สำหรับปีนี้ สนามได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการร่วมพัฒนากีฬากอล์ฟอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดการแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่น 3 รายการใหญ่ของปี เพื่อเป็นสังเวียนให้กับนักกอล์ฟสมัครเล่นได้พัฒนาฝีมือ ซึ่งรายการแรก ได้แก่ “พัฒนา กอล์ฟ ชาเลนจ์ อเมเจอร์ โอเพ่น 2024” รายการที่ 2 “พัฒนาทีม ชาเลนจ์” และ รายการที่ 3 “เดอะแชร์แมน โทรฟี่” 
     คุณโรจนสิทธิ์ มีนิจสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายกีฬา บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยเครื่องดื่มตราช้าง ผู้สนับสนุนหลัก กล่าวว่า “เครื่องดื่มตราช้าง” ได้ให้การสนับสนุนกีฬากอล์ฟไทยมากว่า 17 ปี โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาแบบทั้งระบบ ตั้งแต่ระดับเยาวชน อาชีพ และมือสมัครเล่น พร้อมสร้างความยั่งยืนให้กับวงการกอล์ฟไทย ผ่านการปลุกปั้นตั้งแต่ระดับเยาวชนในการแข่งขันหลากหลายรายการ เพื่อให้นักกอล์ฟเยาวชนทั่วประเทศได้มีเวทีในการพัฒนาฝีมือ พร้อมต่อยอดด้วยการจัดอบรมพัฒนาทักษะกอล์ฟ ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงการเข้าแคมป์ที่มีมาตรฐานระดับสากล 
     ตลอดระยะเวลากว่า 17 ปี ที่ผ่านมา เรามีนักกอล์ฟเยาวชนที่เติบโตไปเป็นโปรกอล์ฟหลากหลายคน ไม่ว่าจะเป็น โปรกัญจน์ เจริญกุล, โปรเรย์ อมรินทร์ กรัยวิเชียร และ โปรฟีเวอร์ นิติธร ทิพย์พงษ์ ที่ได้คว้าแชมป์ Asian Tour 3 รายการในปีที่ผ่านมา ซึ่งล้วนเป็นผลผลิตจากความมุ่งมั่นและความตั้งใจในการสร้าง พัฒนา พร้อมผลักดันเยาวชนไทยสู่เวทีโลก นอกจากนี้ “ช้าง” ยังจัดการแข่งขัน รวมถึงการสนับสนุนการแข่งขันกอล์ฟ Amateur หลากหลายรายการ 
     สำหรับการแข่งขัน “พัฒนา กอล์ฟ ชาเลนจ์ อเมเจอร์ โอเพ่น 2024” เป็นอีกหนึ่งทัวร์นาเมนท์ ที่ “ช้าง” สนับสนุนมาอย่างยาวนาน ซึ่งปีนี้ก้าวสู่ปีที่ 14 รวมถึงการแข่งขัน “พัฒนาทีม ชาเลนจ์” ซึ่งถือเป็นทัวร์นาเมนท์รูปแบบใหม่ ที่ให้นักกอล์ฟทั้งเยาวชนและมือสมัครเล่นได้ลงแข่งขันในประเภททีม ได้ลงแข่งขันเพื่อชิงรางวัลมากมาย 
     สุดท้ายนี้ ทาง“ช้าง”ก็ขอเชิญชวนให้นักกอล์ฟมือสมัครเล่นในทุกรุ่นอายุทั่วประเทศไทย มาลงแข่งขันชิงรางวัลต่างๆ เพื่อสร้างมิตรภาพ ความสนุกสนานและสีสัน ให้แก่วงการกอล์ฟในปีนี้”
     คุณชาติชาย วีรสินธพ ผู้จัดการทั่วไป แผนกกอล์ฟ สนามพัฒนา สปอร์ต รีสอร์ท กล่าวถึง การแข่งขันกอล์ฟ ทั้ง 3 รายการดังนี้ “พัฒนากอล์ฟชาเลนจ์ อเมเจอร์ โอเพ่น 2024” เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากการแข่งขันกอล์ฟรายการ พัฒนา กอล์ฟ ชาเลนจ์ ที่จัดต่อเนื่องมาแล้ว 13 ปี ในปีที่ 14 นี้ เราจึงยกระดับความเข้มข้นของการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น โดยผู้ชนะการแข่งขันจะได้รับเงินรางวัลและของรางวัลรวมมูลค่าสูงถึง 1,000,000 บาท  โดยทัวร์นาเม้นท์กอล์ฟรูปแบบซีรี่ส์ที่จัดเป็นซิกเนเจอร์ของ สนามพัฒนา ภายใต้สโลแกน "Actively Together"  ผนึกกำลังกับ บริษัท ช้างอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) โดยเครื่องดื่มตราช้าง พันธมิตรและผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการด้วยดีมาตลอด 14 ปี และ เครื่องดื่ม ไอออนดริ๊งก์ โพคารี่สเวท 
     “พัฒนากอล์ฟชาเลนจ์ อเมเจอร์ โอเพ่น 2024” เป็นการแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นทั่วไป ประเภทบุคค ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อายุ 21 ปีขึ้นไป แบ่งการแข่งขันรอบคัดเลือก 4 รอบ 
     รอบที่ 1 วันที่ 30 พฤษภาคม 2567
     รอบที่ 2 วันที่ 27 มิถุนายน 2567
     รอบที่ 3 วันที่ 25 กรกฎาคม 2567
     รอบที่ 4 วันที่ 29 สิงหาคม 2567
     นับคะแนนโดยใช้ระบบ Double Peoria + Stableford และคิดแต้มต่อด้วย 36 System ผู้ชนะลำดับ 1-5 ของแต่ละ Class ( A, B, C & Ladies ) และกฎเฉพาะกิจของวันแข่งขัน กรรมการจะคัดเลือกผู้ที่มีคะแนน Net Score อันดับ 1 ในแต่ละไฟล์ทรอบคัดเลือก รอบละ 4 ท่าน รวม 16 ท่าน โดยผู้ชนะเลิศในรอบคัดเลือก เงินรางวัลรวมต่อรอบมูลค่ากว่า 200,000 บาท และได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ Chairman Trophy รายการที่ 3 ของปีนี้ จัดในวันที่ 27-29 กันยายน 2567 (โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น)  ซึ่งจะใช้รูปแบบการแข่งขันแบบ Matchplay 2 วัน เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะในการแข่งขัน Chairman Trophy ซึ่งผู้ชนะเลิศการแข่งขันจะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท บัตรสมาชิกสนามพัฒนา สปอร์ต  รีสอร์ท 1 ปี พร้อมทั้งสลักชื่อบนถ้วยเกียรติยศนี้ด้วย
     “พัฒนาทีม ชาเลนจ์” เป็นการแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นทั่วไป ประเภททีม ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และมีเงื่อนไขพิเศษสำหรับเยาวชนที่อยากเข้าร่วมแข่งขันสามารถจับคู่กับนักกอล์ฟสมัครเล่นที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป เพื่อสมัครเข้าร่วมแข่งขันได้  แบ่งการแข่งขันรอบคัดเลือก 3 รอบ
     รอบที่ 1 วันที่ 2 มิถุนายน 2567
     รอบที่ 2 วันที่ 7 กรกฎาคม 2567 
     รอบที่ 3 วันที่ 4 สิงหาคม 2567 
     เป็นการแข่งขันประเภททีม ทีมละ 2 คน เล่นในรูปแบบ foursome (สลับกันตีใช้ลูกบอลลูกเดียว) นับคะแนนโดยใช้ระบบ 36 System คิดแต้มต่อแต่ไม่เกิน 24 และกฎเฉพาะกิจของวันแข่งขัน ซึ่งทีมชนะเลิศการแข่งขันในแต่ละรอบจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 15,000 บาท
Read More
แชฟฟ์เลอร์ ประเดิมศูนย์ฝึกอบรมเทคนิคเคลื่อนที่ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “เร็พ เอ็กซ์เพิร์ด องค์ความรู้สู่ความสำเร็จ(REPXPERT -  Knowledge for Your Success)”

แชฟฟ์เลอร์ ประเดิมศูนย์ฝึกอบรมเทคนิคเคลื่อนที่ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “เร็พ เอ็กซ์เพิร์ด องค์ความรู้สู่ความสำเร็จ(REPXPERT - Knowledge for Your Success)”

แชฟฟ์เลอร์ เปิดตัวศูนย์ฝึกอบรมเทคนิคเคลื่อนที่ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   

“เร็พ เอ็กซ์เพิร์ด องค์ความรู้สู่ความสำเร็จ (REPXPERT -  Knowledge for Your Success)” 

แผนกอะไหล่ทดแทนของแชฟฟ์เลอร์ (Schaeffler Automotive Aftermarket) ผู้นำด้านการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีการขับเคลื่อน พร้อมเปิดตัวศูนย์ฝึกอบรมเทคนิคเคลื่อนที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยจะเริ่มออกเดินสายครั้งแรกในประเทศไทย โครงการนำร่องนี้จะให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลและองค์ความรู้งานซ่อมระดับ (OEM) ชั้นยอดแก่อู่ซ่อมรถอิสระที่นับวันจะมีแต่ความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น 

นายชัชวาล  ส้มจีน ผู้อำนวยการ แผนกอะไหล่ทดแทน แชฟฟ์เลอร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ศูนย์ฝึกอบรมเทคนิคเคลื่อนที่ เร็พ เอ็กซ์เพิร์ด (REPXPERT) จะเดินสายนำเอาองค์ความรู้ขั้นสูงและทักษะงานซ่อมระดับหน้างานจริงของระบบส่งกำลัง (Transmission) ของแบรนด์ ลุค (LuK) ระบบเครื่องยนต์ (Engine) ของแบรนด์ อีน่า (INA) และระบบช่วงล่าง (Chassis) ของแบรนด์เอฟเอจี (FAG) ส่งถึงหน้าประตูของอู่ซ่อมรถอิสระมากกว่า 4,000 ราย ครอบคลุม 40 เส้นทางหลักตลอดทั่วทั้งประเทศไทย”

ศูนย์ฝึกอบรมเทคนิคเคลื่อนที่ เร็พ เอ็กซ์เพิร์ด ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างประสบการณ์เรียนรู้ร่วมกันระหว่างแชฟฟ์เลอร์และช่างอู่ซ่อมรถ โดยช่างอู่ซ่อมรถที่เข้าร่วมการฝึกอบรมเทคนิคในครั้งนี้จะได้รับประสบการณ์โซลูชันซ่อมแบบครบวงจรของแชฟฟ์เลอร์ภายใต้แบรนด์ลุค อีน่า และเอฟเอจี ได้เรียนรู้จากช่างพี่เลี้ยงที่มีคุณวุฒิ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างชุมชนอู่ซ่อมรถเพื่อให้ไม่พลาดข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้สามารถก้าวไปสู่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญและสร้างความไว้วางใจกับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

แผนกอะไหล่ทดแทนของแชฟฟ์เลอร์ (Schaeffler Automotive Aftermarket) มีความมุ่งมั่นที่จะใช้โครงการนำร่องนี้เพื่อเตรียมตัวช่างซ่อมให้สามารถรับมือกับพัฒนาการทางเทคโนโลยีในโลกแห่งอนาคตได้ นอกจากโครงการศูนย์ฝึกอบรมเทคนิคเคลื่อนที่เร็พ เอ็กซ์เพิร์ดแล้ว ยังมีระบบพอร์ทัล เร็พ เอ็กซ์เพิร์ดสำหรับอู่ซ่อมรถ (Garage portal REPXPERT) ที่ผ่านการออกแบบมาเพื่ออู่ซ่อมรถอิสระที่จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางให้ข้อมูลและบริการต่าง ๆ ของแบรนด์ ลุค อีน่า และเอฟเอจี ของแชฟฟ์เลอร์ทั้งหมด ในรูปแบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชันมือถือ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และเป็นมิตรต่อผู้ใช้ สามารถดาวโหลดแอปพลิเคชัน REPXPERT ฟรีได้ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์  โดยสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://aftermarket.schaeffler.co.th/th/repxpert-garage-portal 

โดยในงานเปิดตัวศูนย์ฝึกอบรมเทคนิคเคลื่อนที่ เร็พ เอ็กซ์เพิร์ด อย่างเป็นทางการ ได้รับเกียรติจากผู้บริหารแชฟฟ์เลอร์เข้าร่วมงานดังนี้  นายกอราฟ มิชรา ผู้จัดการบริหารส่วนงานวางแผน พัฒนา และจัดวางกลยุทธ์ธุรกิจ แผนกอะไหล่ทดแทนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นายไมก้า เชฟพาร์ด ประธานบริหารแผนกอะไหล่ทดแทน ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และประธานบริหารประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นายชัชวาล  ส้มจีน ผู้อำนวยการ แผนกอะไหล่ทดแทน ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นางสาวศิลัดดา ทับปิ่นทอง ผู้จัดการบริหารส่วนงานธุรกิจออนไลน์และการตลาด แผนกอะไหล่ทดแทนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และนางสาวมณธิญา ถนอมทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายขาย แผนกอะไหล่ทดแทนประจำประเทศไทย

แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป – We pioneer motion 

แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป เป็นผู้สร้างแรงผลักดันในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการขับเคลื่อน (Groundbreaking) มาตลอด 75 ปี เพียบพร้อมทั้งด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และบริการระบบยานยนต์ไฟฟ้า (Electric mobility) ระบบขับเคลื่อนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ (CO-efficient drives) โซลูชันสำหรับระบบช่วงล่าง อุตสาหกรรม 4.0 การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digitalization) และพลังงานสะอาด ทำให้เราเป็นหนึ่งในคู่ค้าที่มีความน่าเชื่อถือในการพัฒนาระบบการขับเคลื่อนให้มีประสิทธิภาพ มีความชาญฉลาด และมีความยั่งยืนตลอดทั้งอายุการใช้งาน เราขับเคลื่อนเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนและระบบที่มีความแม่นยำสูงสำหรับระบบขับเคลื่อน (drive train) และระบบช่วงล่าง (แชสซี) รวมถึง ตลับลูกปืนหลายชนิด เหมาะสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ในปี พ.ศ. 2566  แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป ทำยอดขายได้ 16,300 ล้านยูโร โดยมีพนักงานมากถึง 83,400 คน  แชฟฟ์เลอร์เป็นหนึ่งในบริษัทดำเนินธุรกิจแบบครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีนวัตกรรมมากที่สุดในเยอรมนี

แผนกอะไหล่ทดแทนเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนธุรกิจอะไหล่ระดับโลกของแชฟฟ์เลอร์ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้รับผิดชอบส่งมอบชิ้นส่วนและคิดค้นโซลูชันการซ่อมที่ครอบคลุมสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถแทรกเตอร์ รวมถึงรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ (Light and heavy commercial vehicle)  แชฟฟ์เลอร์มีความเข้าใจและเชี่ยวชาญในระบบส่งกำลัง (Transmission system)  ระบบเครื่องยนต์ (Engine system) และระบบช่วงล่าง (Chassis system) ทำให้แชฟฟ์เลอร์เป็นที่รู้จักและยอมรับในงานด้านเทคนิคโซลูชันอัจฉริยะ และงานบริการที่ไม่เป็นรองใคร ในปี พ.ศ. 2565  แผนกอะไหล่ทดแทนของแชฟฟ์เลอร์มียอดขายมากกว่า 2 พันล้านยูโร โดยมีพนักงานมากกว่า 1,700 คน มีคู่ค้าประมาณ 11,500 ราย และมีสำนักงานขายและสำนักงานตัวแทนมากกว่า 70 แห่ง ทั่วโลก ทำให้มั่นใจว่าเราจะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ

Read More

ช่อง copthai tv สถานีทีวีตำรวจ

Sponsor

AD BANNER